ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : Fundamental Analysis คืออะไร ?
Table of Contents
ในโลกของการลงทุนในตลาดการเงิน ‘ความรู้คืออาวุธ’ ยิ่งถ้าเป็นความรู้เรื่องการวิเคราะห์ “ข้อมูลเชิงคุณภาพ” ที่สามารถระบุถึงอนาคต ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ ข้อมูลที่ลึกซึ้งและไม่สามารถวัดได้จาก “ราคา” เพียงอย่างเดียว ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก
ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ เป็นตัวกำหนด Demand & Supply ที่แท้จริงในตลาด และเราสามารถเข้าใจมันได้ผ่านหลักการที่เรียกว่า “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน” (Fundamental Analysis)
Fundamental Analysis คืออะไร
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ วิธีการประเมินเพื่อหามูลค่าที่แท้จริงหรือเหมาะสมของสินทรัพย์ทางการเงินหนึ่งๆ โดยการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงคุณภาพ รวมถึงตัวแปรเชิงปริมาณอื่นที่ “ไม่ใช่ราคา” เช่น ข้อมูลงบการเงิน, อัตราส่วนกำไร, ตัวเลขเงินเฟ้อ เป็นต้น
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ การที่เราสามารถประเมินมูลค่าที่ควรจะเป็นได้ และเราก็จะบอกได้ว่า ราคาของสินทรัพย์นั้นๆ “แพงเกินไป” หรือ “ถูกเกินไป” ซึ่งมันนำไปสู่กลยุทธ์ที่แตกต่าง เช่น ถ้าราคาแพงเกินไป นักลงทุนอาจเลือกที่จะทยอยขายหุ้นออกมา หรือใช้วิธีการ Short Sell ค่าเงินแบบที่ ‘จอร์จ โซรอส’ เคยทำก็ได้
การขายชอร์ตเป็นกลยุทธ์ที่ต้องพึ่งพาหลักการของ Money Management อย่างเข้มงวด เนื่องจากเพดานของการสูญเสียมีไม่จำกัด (ราคาเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ไม่มีขีดจำกัด) ในขณะที่การ “ซื้อ” (Buy หรือ Long) การขาดทุนสูงสุดจำหยุดอยู่แค่หุ้นหรือสินค้าตัวเป็นมีมูลค่าเท่ากับศูนย์
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การอยู่ฝั่งซื้อเป็นสิ่งที่ปลอดภัยกว่า อีกทั้งสินทรัพย์หลายๆ ประเภทมีโอกาสเป็นศูนย์ได้ยาก เช่น DAX Index หรือ S&P 500 Index เพราะเป็นดัชนีหุ้นเกิดจากบริษัทที่แข็งแกร่งที่สุดของเยอรมนีและสหรัฐตามลำดับ
สิ่งที่ต้องตระหนักเสมอคือ Fundamental Analysis เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวแปรที่หลากหลาย และสินทรัพย์ที่แตกต่างกันก็จะต้องวิเคราะห์ในตัวแปรที่แตกต่างกัน เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex เราจะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ, นโยบายทางการเงิน ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น เราจะเน้นวิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์งบการเงิน เป็นต้น
ทั้ง ‘การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาดหุ้น’ หรือ ‘การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาด Forex’ เราจะลงรายละเอียดกันในหัวข้อถัดไป แต่หากคุณเริ่มสนใจอยากทดลองลงทุนในตลาดหุ้น-ตลาดค่าเงิน Forex บ้างแล้ว คุณสามารถเปิดบัญชีเงินจำลองเพื่อทดลองเทรดได้ฟรี เพิ่มจำนวนได้ไม่จำกัด ฝึกสังเกตตลาดได้จากสภาพแวดล้อมจริง เปิดบัญชีได้ทันที คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง
ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ในแง่ของกลยุทธ์การลงทุน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากแนวโน้มของหลักทรัพย์นั้นๆ ในระยะยาว หรืออย่างน้อยก็หลักไตรมาส ไม่ใช่การเก็งกำไรจากความผันผวนภายในวันหรือสัปดาห์ ทั้งนี้ เพราะปัจจัยพื้นฐานคือปัจจัยที่แท้จริงในการขับเคลื่อนตลาดในระยะยาว
ในแง่หนึ่งเราพูดได้ว่า ราคาหุ้นหรือคู่เงิน Forex นั้น ถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนสถาบัน กองทุนการเงินขนาดใหญ่ หรือที่ทั้งหมดนี้เราเรียกว่า “Smart Player” แต่เพราะองค์กรเหล่านี้มีเงินภายใต้การบริการที่มหาศาล จึงมีข้อจำกัดในการเข้าเทรดระยะสั้น เพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องขณะเข้าซื้อ
ดังนั้น นักลงทุนสถาบันเหล่านั้น จึงต้องเลือกลงทุนในหุ้นหรือค่าเงินที่มีแนวโน้มในระยะกลาง-ยาวขึ้นไป (3-6 เดือนเป็นต้นไป) ซึ่งการที่สินทรัพย์ใดๆ จะสามารถมีแนวโน้มต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ได้ ก็ต้องมีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ หรือเป็นหุ้น, Forex ที่มูลค่าที่แท้จริงของมันสามารถเติบโตได้ในระยะ 3-6 เดือนข้าง
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว นักลงทุนสถาบันจะทยอยเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซื้อครั้งละไม่มากเท่าที่ตลาดจะมีสภาพคล่องรองรับ โดยกระบวนการจะกินระยะเวลาเป็นเดือนๆ ไม่สามารถเข้าซื้อรวดเดียวได้ เพราะจะกลายเป็นดันราคาให้สูงขึ้นเร็วเกินไป และจะทำให้ได้ต้นทุนที่แพง
จะเห็นว่า Fundamental Analysis กลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการลงทุนระยะกลาง-ยาว เพราะนักลงทุนต้องการส่วนต่างของราคาที่มาก และส่วนต่างของราคาที่มากก็ต้องแลกกับการอดทนซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์นั้นเป็นเดือนๆ เช่นกัน
ความแตกต่างระหว่าง Fundamental Analysis กับ Technical Analysis
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ( Technical Analysis) คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของราคา รูปแบบราคา สถิติและความน่าของราคา ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ “ราคา” การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะไม่สนใจตัวแปรอื่นใดเลยนอกจากราคาปัจจุบัน
ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะศึกษาตัวแปรทุกอย่างยกเว้นราคาปัจจุบันเพียงอย่างเดียว ดังจะเห็นได้จากคำนิยามตั้งแต่ต้นว่า จะวิเคราะห์ทั้ง “ตัวแปรเชิงคุณภาพ” และ “ตัวแปรเชิงปริมาณ”
ตัววิชาของ Technical Analysis ในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการทำนายทิศทางราคาน้อยลง แต่จะเน้นที่เรื่อง “จังหวะการเข้าเทรด” หรือ “Timing” ในขณะที่ Fundamental Analysis ไม่สามารถใช้หาจังหวะการเข้าเทรดที่เหมาะสมได้
ดังนั้น วัตถุประสงค์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งสองแนวทางจะใช้สอดรับกับกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า สำหรับนักเทรดระยะสั้น โดยเฉพาะ Forex Day Trading ต้องพึ่งพาการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สูงมาก แต่ถึงกระนั้น การเทรด Forex โดยการวางกลยุทธ์ระยะยาว ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องประเมินปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยด้านเศรษฐกิจเช่นกัน
เริ่มต้นฝึกลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกด้วยบัญชีเงินจำลอง
การลงทุนใดๆ จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและทดสอบแนวคิดกันอยู่เสมอ ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับการลงทุนด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ทั้งนี้ นักลงทุนจะนิยมเข้าไปฝึกฝนในระบบบัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า “Demo Account” อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นระบบที่จำลองเงินขึ้นมาเพื่อใช้เทรด
- สามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ
- สามารถใช้เครื่องมือเทรดและสัมผัสถึงสภาพแวดล้อมแบบบัญชีจริงทุกประการ
- คำนวณกำไรขาดทุนเหมือนเงินจริงทุกประการ และคำนวณตามราคาตลาดจริงๆ
คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบประสบการณ์การเทรดของคุณเองได้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีเงินจำลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาดหุ้น
สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้นจะเน้นที่การวิเคราะห์การเงิน (Financial Statement) เนื่องจากเป็นเอกสารที่แสดงถึงข้อมูลสำคัญทางการเงินของบริษัท โครงสร้างทรัพย์สิน-หนี้สิน และผลการดำเนินการของบริษัทจะแสดงผ่านงบกำไรขาดทุน
อีกเช่นกันที่ ‘งบการเงิน’ มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ผู้อ่านจึงควรศึกษาคู่มือของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เพื่อจะทำความเข้าใจแนวคิดของการวิเคราะห์งบการเงิน เราสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้เป็นลักษณะนี้
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาด Forex
ตลาด Forex คือการแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ ราคาของสกุลเงินเราเรียกว่า “อัตราแลกเปลี่ยน” ซึ่งความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนและไม่ได้อ้างอิงกับผลกำไรของบริษัทใดบริษัทหนึ่งอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
หลักการวิเคราะห์ข่าว
คุณอาจจะสังเกตได้ว่าจากมุมมองของเทรดเดอร์ Forex ทั่ว ๆ ไป รายงานข่าวต่าง ๆ คือตัวแปรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เพราะว่ามีอินดิเคเตอร์ที่เป็นตัวบ่งชี้ด้านเศรษฐกิจอยู่หลายตัวด้วยกันที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจใช้ในการจับตามองสภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอินดิเคเตอร์เหล่านี้สามารถบ่งชี้สภาพของเศรษฐกิจได้นั่นเอง
อินดิเคเตอร์เหล่านี้จะพบได้ในรายงานข่าวและการเผยแพร่ข่าว ข่าวบางชิ้นจะถูกรายงานแบบรายสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรายงานข่าวรายเดือนหรือราย 3 เดือน คุณสามารถติดตามการประกาศข่าวต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงอัพเดตข้อมูลใด ๆ ในตลาดได้ผ่านทางปฏิทิน Forex ทีนี้เรามาลองเปรียบเทียบการวิเคราะห์ทางเทคนิกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานโดยใช้ความถี่ในการอัพเดตข้อมูลกัน
สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของสกุลเงิน ข้อมูลใหม่จะมีการอัพเดตเป็นวินาทีต่อวินาทีโดยแสดงในรูปแบบของการเสนอราคา แต่ในส่วนของอินดิเคเตอร์ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นจะมีการเผยแพร่ได้ถี่ที่สุดก็เพียงแค่สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น เงินทุนจะค่อย ๆ ไหลออกจากประเทศที่รวบรวมเงินทุนได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศที่สามารถรวบรวมเงินทุนได้เร็วกว่า
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เกิดจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ หากมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ มีความแข็งแกร่งดี ก็จะทำให้ตลาดของประเทศนั้นดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่านั่นเอง
จากแนวคิดดังกล่าว เมื่อจะลงทุน นักลงทุนจะต้องเปลี่ยนเงินทุนของตนเป็นสกุลเงินของประเทศที่ต้องการลงทุนเสียก่อน การเข้าซื้อสกุลเงินนั้น ๆ มากขึ้นจะไปกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์หรือแรงซื้อให้มากขึ้น และส่งผลให้สกุลเงินดังกล่าวแข็งค่าขึ้น น่าเสียดายที่เศรษฐกิจไม่ได้ดำเนินไปตามหลักการง่าย ๆ เช่นนั้น ยังคงมีตัวอย่างของประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจดีแต่ค่าเงินกลับอ่อนตัวลงให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ สกุลเงินนั้นไม่เหมือนกับหุ้นของบริษัทที่สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจได้โดยตรง
สกุลเงินเป็นเครื่องมือที่อาจถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือผู้ออกนโยบายได้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ธนาคารกลาง หรือแม้แต่เทรดเดอร์อย่าง จอร์จ โซรอส
เมื่อมีการเผยแพร่รายงานทางเศรษฐกิจ เทรดเดอร์และนักลงทุนก็จะมองหาสัญญาณความแข็งแรงหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ หากก่อนที่จะมีการประกาศรายงานหรือข่าวทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของตลาดดูจะโน้มเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงของราคาก่อนการประกาศรายงานทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า ‘priced in market’ (ตีราคาตลาด) ซึ่งจะก่อให้เกิดความอลหม่านเล็กน้อยในตลาดก่อนที่จะมีการประกาศรายงานทางเศรษฐกิจออกมาจริง ๆ
ในทางกลับกัน เมื่อตลาดมีความไม่แน่นอน หรือรายงานข้อมูลที่ออกมาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาอย่างรุนแรงได้ นี่คือสาเหตุที่เทรดเดอร์ Forex มือใหม่ควรจะหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีการประกาศข่าวหรือรายงานทางเศรษฐกิจเมื่อต้องการฝึกฝนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด
อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์หรือสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ได้ อาทิเช่น
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยถือเป็นอินดิเคเตอร์หรือตัวบ่งชี้สำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเลยก็ว่าได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็มีหลายชนิดด้วยกัน แต่ในที่นี้เราจะเน้นไปที่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดหรือระบุไว้ (Nominal interest rate) หรืออัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (Base interest rate) ที่กำหนดโดยธนาคารกลาง เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ผลิตเงินขึ้นมา และธนาคารเอกชนก็จะทำการกู้ยืมเงินนั้นจากธนาคารกลางนั่นเอง สัดส่วนหรือเงินต้นที่ธนาคารเอกชนจ่ายให้กับธนาคารกลางเพื่อกู้ยืมสกุลเงินนั้นเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (Base interest rate) หรืออัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ (Nominal interest rate) เมื่อคุณได้ยินศัพท์ ‘อัตราดอกเบี้ย’ เมื่อไหร่ ให้นึกไว้เลยว่าหมายถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
- การควบคุมอัตราดอกเบี้ย ถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลังของประเทศ โดยเป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักของธนาคารกลาง อัตราดอกเบี้ยถือเป็นตัววัดระดับเศรษฐกิจที่สำคัญมาก โดยอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจยิ่งกว่าตัวแปรอื่น ๆ และยังมีอิทธิพลกับค่าสกุลเงินด้วย นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อ, การลงทุน, การค้าขาย, การผลิต และอัตราว่างงานอีกด้วย
วิธีการของมันเป็นดังนี้
โดยปกติแล้ว ธนาคารกลางจะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นและให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ จึงทำให้ต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสม การกระทำดังกล่าวจะผลักดันให้มีการกู้ยืมจากธนาคารเอกชน และ บุคคลทั่วไป รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการบริโภค, การผลิต และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม อัตราดอกเบี้ยต่ำนั้น แม้ว่าดูจะเป็นวิธีที่ดี แต่กลับเป็นกลยุทธ์ที่ไม่ค่อยได้ผลนัก
ในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำอาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมากเกินไป คือมีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจมากจนเกินไป และ ส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจขึ้นมาได้ ซึ่งเราก็รู้กันดีอยู่ว่าไม่ช้าไม่นานมันก็จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ของการล้มครืนทางเศรษฐกิจ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น ธนาคารกลางอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะลดอัตราการกู้ยืมลง และ ทำให้กระแสเงินสะพัดสำหรับธนาคาร, ธุรกิจ และบุคคลทั่วไปลดน้อยลง ในมุมมองของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน โอกาสสำคัญในการเข้าทำกำไรจากการเทรดก็คือตอนที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง
เงินเฟ้อ
การประกาศเกี่ยวกับเงินเฟ้อจะรายงานในเรื่องการเปลี่ยนแปลงหรือการขึ้นลงของราคาสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง คุณควรทราบไว้ว่าในทุกระบบเศรษฐกิจจะมีระดับที่เรียกว่า ‘เงินเฟ้อที่ดี’ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโต กระแสเงินที่หมุนเวียนในเศรษฐกิจก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วย และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่าเงินเฟ้อนั่นเอง จุดสำคัญก็คือรัฐบาล และ ธนาคารกลางจะต้องปรับอัตราเงินเฟ้อให้มีความสมดุลและอยู่ในระดับที่กำหนดไว้
ภาวะเงินเฟ้อมากเกินไปจะทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างอุปสงค์และอุปทาน โดยจะมีอุปทานมากกว่า ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลงเนื่องจากมีปริมาณเงินมากกว่าอุปสงค์ที่มีอยู่ ในทางกลับกันหรือที่เรียกว่าภาวะเงินฝืด เงินจะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการจะถูกลง
ในระยะสั้น นี่อาจถือเป็นเรื่องดี แต่สำหรับเศรษฐกิจในระยะยาวแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องดีนัก เนื่องจากเงินเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อเงินน้อยลงก็เท่ากับว่ามีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจลดลงด้วย ในบางกรณี ภาวะเงินฝืดอาจส่งผลอย่างร้ายแรงกับประเทศนั้น ๆ ได้ถึงขนาดที่ประเทศนั้น ๆ แทบจะไม่มีเงินหมุนเวียนเพียงพอให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ด้วยซ้ำ
GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นตัววัดมูลค่าสินค้าและบริการที่ประเทศหนึ่ง ๆ ผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง มีความเชื่อว่า GDP คืออินดิเคเตอร์หรือตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหนึ่ง ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งอาจฟังดูแปลกอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ GDP เป็นเพียงแค่การวัดมูลค่าการผลิตสินค้า และ บริการเพียงเท่านั้น โดยไม่ได้มีอุปสงค์ของสินค้าและบริการนั้น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย
หากจะให้กล่าวตามตรงแล้ว การที่จะประเมินค่าเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลได้นั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน จึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกนักที่จะยึดเอา GDP มาเป็นตัวบ่งชี้ทั้งอุปสงค์ และ อุปทานในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของตัวเลข GDP แต่ปริมาณความต้องการหรืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงแสดงให้เห็นว่านี่ไม่ได้หมายถึงเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งเลยสักนิดในมุมมองของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex
อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ และ GDP เป็น 3 อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex อินดิเคเตอร์ทั้งสามตัวนี้มีความสำคัญมากเพราะมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น ๆ อย่างเช่น ยอดขายปลีก, เงินทุนหมุนเวียน, ดุลการค้า, ราคาพันธบัตร รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค และ ภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนี้ อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจไม่เพียงแต่แสดงค่าที่ขัดแย้งกันได้เท่านั้น แต่ อินดิเคเตอร์บางตัวยังสัมพันธ์กันแบบข้ามส่วนข้ามแขนงกันด้วย
การทำความเข้าใจว่ามีข้อมูลทางเศรษฐกิจมากมายที่มีอิทธิพลต่อทิศทางตลาด Forex เป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่ายังไง คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex เพื่อใช้ในกลยุทธ์เทคนิคการเทรดของคุณสำหรับช่วยคาดการณ์ทิศทางของตลาด
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัล
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในสินค้ากลุ่มนี้ยังเป็นเรื่องใหม่มาก และ มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่ามูลค่าที่แท้จริงของสกุลเงินดิจิทัลนั้นมีอยู่จริงหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม ในแนวคิดร่วมสมัยอาจจะพอสรุปได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้
ต้นทุนในการ Mining
แนวคิดคล้ายกับการวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างเช่น น้ำมันดิบ จะมีต้นทุนค่าขุดเจาะน้ำมัน ประเทศใหญ่ๆ อาจมีต้นทุนค่าจุดเจาะราวๆ 20$ ต่อบาร์เรล แน่นอนว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำหรับสกุลเงินดิจิทัลมีแนวคิดที่เหมือนกันทุกประการ
โดยสกุลเงินดิจิทัล เมื่อถึงหนึ่ง ต้นทุนในการขุดเจาะอาจมากกว่า $50 ต่อการทำธุรกรรมบนเครือข่าย Bitcoin โดยต้นทุนดังกล่าวมีแนวโน้มเริ่มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม 2018 ดูเหมือนว่าจะมีความต้องการมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนบนเครือข่ายมากขึ้น นี่เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองว่า สกุลเงินดิจิทัลจะเปลี่ยนโลก
รัฐบาล (Regulation)
ตัวอย่างที่เห็นชัดคือรัฐบาลจีน โดยในปี 2017 ราคาของสกุลเงินดิจิทัลลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากหน่วยงานกำกับดูแลของจีน ประกาศห้ามไม่ให้องค์กรใดๆ ระดมทุนโดยใช้การเสนอเหรียญที่เรียกว่า “ICO” ซึ่งแนวคิดเหมือนการเสนอขายหุ้น IPO
โดยตัว ICO ช่วยให้สตาร์ทอัพ สามารถเพิ่มการลงทุนโดยการขายสกุลเงินดิจิทัลใหม่ เป็นสกุลเงินแยกต่างหากเพื่อตอบแทนเป็นเงินสด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางจีน (PBOC) กล่าวว่า แนวทางปฏิบัตินี้ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก และในประเทศจีนถือเป็นการระดมทุนที่ผิดกฎหมาย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :