Forex เบื้องต้น

เทรด Forex ในประเทศไทย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

ปัจจุบันได้มีคนสนใจอย่างมากเกี่ยวกับ Forex วันนี้เราจะเจาะลึก “Forex กับกฎหมายไทย” ตอบคำถามในแต่ละประเด็น ชัดกันแบบชัดเจน หมดข้อกังขากันไปเลย เพราะมีคำถามมากมายว่า Forex ถูกกฎหมายไทยไหม, Forex เล่นได้ไหม, Forex ได้เงินจริงไหม, Forex เสียภาษีไหม, ระดมทุน Forex ได้หรือเปล่า, ชักชวนคนมาเปิดบัญชีเทรด Forex ได้ไหม แนะนำเลยว่าเทรดเดอร์มือใหม่หรือผู้ที่กำลังสนใจการหาเงิน การหารายได้ออนไลน์ กับตลาด Forex ควรอ่านอย่างยิ่ง ห้ามพลาด!!!

การเทรด Forex ผิดกฎหมาย หรือไม่ ?

กรณีบุคคลทั่วไป

  • การที่บุคคลทั่วไปในประเทศไทยจะเทรด Forex กับโบรกเกอร์ต่างประเทศ ไม่ได้ผิดกฎหมาย 
  • เพราะเมื่อพิจารณาถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
  • ไม่ได้มีข้อห้ามให้บุคคลทั่วไป เข้าไปทำธุรกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด

จากการศึกษาของ สศค. และธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าใจว่า การลงทุนเพื่อ เก็งกำไรดังกล่าวไม่ได้มีการซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่เป็นเพียงกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ และผลการดำเนินการจะมีการชำระบัญชีของส่วนต่างที่เป็นผลกำไรหรือขาดทุนเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดรองรับ ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการดำเนินธุรกรรม ในลักษณะดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงทั้งจากความเสียหายจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนและการผิดนัดชำระเงินคืน ข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

​ข่าว ธปท. ฉบับที่ 51/2562

เรื่อง  ธปท. เตือนระวังถูกหลอกลวงให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (FOREX)

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการโฆษณาผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ชักชวนให้ประชาชนลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือเทรด (Trade) ค่าเงิน (FOREX หรือ FX หรือ Foreign Exchange) โดยอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง นั้น

ธปท. ขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อการเชิญชวนดังกล่าว ที่ผ่านมา การชักชวนให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศตามที่โฆษณาแอบอ้างมักเป็นการหลอกลวงว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ข้อเท็จจริงมีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งไม่มีการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศจริง อีกทั้ง การทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงและยังมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า

  1. ตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศต้องทำกับผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อของผู้ได้รับใบอนุญาตได้ทางเว็บไซต์ของ ธปท. (www.bot.or.th)
  2. ปัจจุบันยังไม่เคยมีการให้ใบอนุญาตแก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทางอินเทอร์เน็ต หากผู้ใดให้บริการดังกล่าวในประเทศไทย จะมีความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
  3. ธปท. ไม่อนุญาตให้โอนเงินไปต่างประเทศเพื่อชำระธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (FOREX) ในเว็บไซต์ต่างประเทศ การฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
  4. บุคคลที่แนะนำหรือโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือเทรดค่าเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

หากมีข้อสงสัย โปรดสอบถามมาที่ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน ธปท. Call Center 02 356 7799 หรือโทร 1213

ธนาคารแห่งประเทศไทย
24 กันยายน 2562 

ข้อมูลเพิ่มเติม: งานปฏิบัติการพิเศษ ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน Email: SpecialTask-FPD@bot.or.th

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ

การไปเทรด Forex กับโบรกเกอร์ต่างประเทศนั้น อยู่นอกเหนือความคุ้มครองจากหน่วยงานรัฐในประเทศไทย

  • หมายความว่า หากท่านเทรดกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ แล้วเกิดความเสียหาย, โดนฉ้อโกง
  • ท่านต้องรับผิดชอบต่อเสียหายนั้นเอง, หากจะฟ้องร้องบริษัทเหล่านั้น ก็อาจต้องไปเดินเรื่องเองที่ต่างประเทศ

โบรกเกอร์ในต่างประเทศ ที่มีการจดทะเบียนโดยถูกต้อง

จะมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ, ให้ความคุ้มครองในต่างประเทศ และที่ผ่านมาเราแทบไม่เคยพบการทุจริตกับโบรกเกอร์ ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานที่มีความเข้มงวด อาทิ:

FCA UK: Financial Conduct Authority

  • FCA คือองค์การกำกับทางการเงิน สหราชอาณาจักร
  • โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
  • เงินชดเชย 50,000 ปอนด์ต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

ASIC: Australian Securities and Investments Commission

  • ASIC คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน ประเทศออสเตรเลีย
  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์

CySEC: Cyprus Securities and Exchange Commission

  • CySEC คือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ไซปรัส
  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร
  • เงินชดเชยเงิน 20,000 ยูโรต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

การระดุมทุน Forex

การระดมทุน เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

และเกิดขึ้นบ่อยในวงการ Forex ทั้งการระดุม, แชร์ลูกโซ่ ที่อ้างว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้ในอัตราที่สูง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา 4

มาตรา 4 “ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”

การเปิดโบรกเกอร์ Forex ในไทย ?

การเปิดโบรกเกอร์ Forex ในประเทศไทย ไม่สามารถทำได้

โปรดทราบว่า : ในปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่ได้มีการออกใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว การที่จะก่อตั้งโบรกเกอร์ Forex ในประเทศไทยจึงไม่สามารถทำได้

ปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น หากมีบุคคลใดมาชักชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะดังกล่าวให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ท่านอาจโดนมิจฉาชีพหลอกลวงมีโอกาสได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากเว็บไซต์: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

สรุป

Forex กับกฎหมายไทย การที่บุคคลทั่วไปหรือบุคคลธรรมดา จะเทรด Forex ผ่าน Broker ในประเทศนั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่หากเกิดความเสียหาย โดนฉ้อโกง จากโบรกเกอร์ Forex จะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในประเทศไทยได้ แต่สามารถฟ้องร้องไปที่หน่วยงานที่จดทะเบียนของโบรกเกอร์ที่อยู่ต่างประเทศได้ ดังนั้นจะต้องพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่มีความมั่นคง มีใบอนุญาต มีความน่าเชื่อ ทั่วโลกให้การยอมรับ และหากมีการระดุมทุนหรือเปิดโบรกเกอร์ในประเทศไทยนั้น เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้และยังผิดกฎหมายอยู่ อัพเดทปี 2020

CR :

Related Articles

Back to top button