การเทรดตามโมเมนตัม : เคล็ดลับ และ อินดิเคเตอร์ยอดนิยม
Table of Contents
การเทรดตามโมเมนตัมคืออะไร? การทำความเข้าใจ และ การเทรดตามการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมตลาดนั้นอาจเป็นเรื่องน่ากังวลใจ อย่างไรก็ตาม การใช้บางกลยุทธ์สามารถช่วยให้เทรดเดอร์มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้มากขึ้น หนึ่งในกลยุทธ์ดังกล่าวคือการ เทรดตามโมเมนตัม ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากโมเมนตัมของแนวโน้มราคาในสินทรัพย์ต่างๆ
เราจะมาเจาะลึกโลกของการเทรด ตามโมเมนตัม และ มาดูกันว่าเทรดเดอร์ใช้วิธีนี้คว้า และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้อย่างไร โดยจะศึกษาแนวคิดหลัก อินดิเคเตอร์ต่างๆ และตัวอย่างที่ใช้งานได้จริง เป็นการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับกลยุทธ์การซื้อขายยอดนิยมนี้ สิ่งที่จะพูดถึงในบทความนี้ ได้แก่
- ความหมายของการเทรด ตามโมเมนตัม
- การจับแนวโน้ม และ โมเมนตัมของราคา
- การใช้อินดิเคเตอร์ในการเทรด ตามโมเมนตัม
- ดัชนี RSI (Relative Strength Index)
- เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence)
- ดัชนี Stochastic Oscillator
- การประเมินภาคการตลาด และ หุ้นเพื่อหาโมเมนตัม
- เคล็ดลับการเทรดสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัม
- คำถามที่พบบ่อยของการเทรด ตามโมเมนตัม
ความหมายของการเทรดตามโมเมนตัม
โดยหลักการพื้นฐานแล้ว โมเมนตัมของราคาคือแนวคิดที่ว่าราคาจะมีแนวโน้มต่อเนื่องบ่อยกว่าการกลับตัว ดังนั้น การตามแนวโน้มในเชิงสถิติก็ถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดกว่า เทรดเดอร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการเทรด ตามโมเมนตัมและการเทรดตามแนวโน้มเป็นวิธีการที่ปลอดภัยกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถคาดการณ์ตลาดได้ และไม่มีวิธีคาดการณ์แบบตายตัวที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้องทุกครั้ง ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประเด็นนี้เมื่อทดสอบการเทรด ตามโมเมนตัม และ นำความรู้เรื่องนี้มาเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดงบประมาณการเทรดของคุณ
สิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ว่าการเทรด ตามโมเมนตัมมักจะเกิดขึ้นกับการเทรดหุ้น แต่ก็เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเทรดสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่นกัน
อินดิเคเตอร์ในการเทรดตามโมเมนตัม
หากต้องการดูการนำอินดิเคเตอร์โมเมนตัมไปใช้จริง สามารถทำได้โดยลงทะเบียนอีเมลของคุณเพื่อเข้าถึง Exness Terminal ได้ทันที ใช้บัญชีทดลองที่ให้บริการเพื่อทำความคุ้นเคยกับอินดิเคเตอร์ในการเทรด ตามโมเมนตัมแบบไม่มีความเสี่ยง
บนเทอร์มินัลการซื้อขายของ Exness ที่ด้านบนซ้าย คุณจะเห็นเมนูกล่องตัวเลือกซึ่งแสดงอินดิเคเตอร์ยอดนิยมไว้กว่า 100 รายการ ค้นหา “โมเมนตัม” และ เลือกจากรายการดังกล่าวเพื่อวางอินดิเคเตอร์โมเมนตัมไว้ด้านล่างกราฟ ง่ายๆ แค่นี้เอง แล้วอินดิเคเตอร์โมเมนตัมแสดงอะไรบ้าง
อินดิเคเตอร์โมเมนตัมเป็นตัววัดอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น โดยทั่วไป โมเมนตัมแนวโน้มของหุ้นจะช้าลงก่อนการเปลี่ยนทิศทาง หากอินดิเคเตอร์โมเมนตัมตัดเส้นศูนย์ เทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมจะถือว่านี่เป็นสัญญาณจุดเข้า และจุดออกในการเทรดที่เป็นไปได้
ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การซื้อขายตามโมเมนตัม เทรดเดอร์ที่เข้าถือสถานะเมื่ออินดิเคเตอร์โมเมนตัมตัดเหนือเส้นศูนย์ก็อาจถือสถานะนั้นไว้ตราบเท่าที่อินดิเคเตอร์ยังอยู่เหนือเส้นศูนย์
เมื่ออินดิเคเตอร์โมเมนตัมตัดมาอยู่ใต้เส้นศูนย์ เทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมถือว่านี่เป็นตัวบ่งชี้ว่าโมเมนตัมกำลังตกและแนวโน้มปัจจุบันกำลังมาถึงจุดจบแล้ว หากอินดิเคเตอร์โมเมนตัมยังอยู่เหนือ 0 เทรดเดอร์ก็มักเปิดคำสั่งซื้อขายนั้นค้างไว้ แต่เมื่ออินดิเคเตอร์ตัด 0 อีกครั้งหนึ่ง เทรดเดอร์จะถือว่าเป็นจุดที่จะต้องออกจากเทรดทันที
เคล็ดลับ: แม้จะฟังดูง่าย แต่ขอให้จำไว้ว่า จุดตัดต่างๆ ไม่ได้เป็นสัญญาณจุดเข้าหรือออกที่เชื่อถือได้เสมอไป เนื่องจากอินดิเคเตอร์โมเมนตัมสามารถสร้างสัญญาณมากมายเมื่อตัดเหนือหรือต่ำกว่าเส้นศูนย์
เพื่อช่วยลดจำนวนสัญญาณจุดเข้า และจุดออกเทรด ให้พิจารณาใช้เงื่อนไขเพิ่มเติมเป็นตัวกรอง ตัวกรองดังกล่าว ได้แก่ การใช้ รูปแบบราคา หรือการทดสอบแนวโน้มโดยรวมของตลาดหุ้นในวงกว้าง
การเทรด ตามโมเมนตัมมีรากฐานมาจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค การจับตาดูแนวโน้มบนกราฟที่แสดงโมเมนตัมแข็งแกร่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดูด้วยตาเปล่า แต่อาจมีเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ในการเทรด 3 ถึง 5 ปีบางรายสามารถทำได้
สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมที่ต้องการความช่วยเหลือ อินดิเคเตอร์สามารถช่วยได้ ซึ่งมีอินดิเคเตอร์ 3 ตัวที่เทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมมักใช้กัน
3 อินดิเคเตอร์ยอดนิยมในการเทรดตามโมเมนตัม
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะวางซ้อนอินดิเคเตอร์ต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น โดยเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมมักจะใช้อินดิเคเตอร์ถึง 3 ตัว
- ดัชนี RSI (Relative Strength Index)
- เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence)
- ดัชนี Stochastic Oscillator
ดัชนี RSI (Relative Strength Index)
RSI เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมในบรรดาเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัม โดย RSI จะเป็นตัววัดความเร็ว และการเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของราคา บนเทอร์มินัลการซื้อขายของ Exness ให้คลิกปุ่มอินดิเคเตอร์ที่ด้านซ้ายบน จากนั้นหาคำว่า “RSI” แล้วเลือก Relative Strength Index
ที่ด้านล่างของกราฟ คุณจะเห็นกราฟซึ่งมีระยะเริ่มจาก 0 ถึง 100 กลยุทธ์ RSI แนะนำว่าสินทรัพย์ใดๆ ที่มีการอ่านค่าเกิน 70 บ่งบอกถึงสถานการณ์การซื้อมากเกินไป ซึ่งว่ากันว่าจะส่งผลให้โมเมนตัมชะลอตัวลง และอาจกลับตัวในที่สุด ในทำนองเดียวกัน การอ่านค่าน้อยกว่า 30 บ่งบอกถึงสถานะที่มีการขายมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การสิ้นสุดของโมเมนตัมขาลง
เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence):
MACD เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่ช่วยในการวิเคราะห์โมเมนตัม MACD ประกอบด้วยเส้นสองเส้น ได้แก่ เส้น MACD และเส้นสัญญาณ เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้นสัญญาณ ก็จะเกิดสัญญาณแนวโน้มขาขึ้น บ่งชี้ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม
ในทางกลับกัน เมื่อเส้น MACD ตัดลงต่ำกว่าเส้นสัญญาณ ก็จะเกิดสัญญาณแนวโน้มขาลง บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม นอกจากนั้น ระยะห่างระหว่างเส้น MACD และเส้นสัญญาณยังแสดงถึงความแข็งแกร่งของโมเมนตัม เทรดเดอร์มักใช้ MACD ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นเพื่อตัดสินใจเทรดจากข้อมูลสำคัญ
ดัชนี Stochastic Oscillator
ดัชนี Stochastic Oscillator ทำหน้าที่วัดโมเมนตัมของราคาด้วยการเปรียบเทียบราคาปิดปัจจุบันกับกรอบราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อินดิเคเตอร์ตัวนี้จะสร้างค่าขึ้นมาระหว่าง 0 ถึง 100 ซึ่งการอ่านค่าเกิน 80 ถือว่ามีการซื้อที่มากเกินไป และการอ่านค่าต่ำกว่า 20 ถือว่ามีการขายที่มากเกินไป
เคล็ดลับการเทรดสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัม
ไม่มีวิธีการเทรดใดที่ไม่ผิดพลาด แต่การเทรด ตามโมเมนตัมหรือการเทรดตามแนวโน้มถือเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้มากกว่าการรอการกลับตัว และการเทรดราคาที่แกว่งตัว
เทรดเดอร์ยังควรคำนึงถึงการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบภาคการตลาด และหุ้นรายตัวเพื่อหาโอกาสที่เป็นไปได้เมื่อต้องเทรดตามโมเมนตัม ตัวอย่างเช่น หากหุ้นเทคโนโลยีรายใหญ่ทำผลงานได้ดี บริษัทเทคโนโลยีที่คนรู้จักน้อยกว่าอาจแสดงปฏิกิริยาขาขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากความสนใจที่ล้นหลามในภาคส่วนนี้
หากอินดิเคเตอร์ ความเชื่อมั่นในภาคส่วน รูปแบบกราฟ ข่าวสารการเงิน และ ปัจจัยพื้นฐานต่างยืนยันแนวโน้ม ก็ถือว่าถึงเวลาที่ต้องเข้าเทรดในตลาดแล้ว
การหาจุดออกไม่ใช่เรื่องง่าย เทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัมมีทฤษฎีมากมายในการกำหนดจุดออก แต่หลักการที่ดีที่สุดคือต้องไม่ให้อารมณ์ ความเชื่อมั่น หรือความโลภมามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
หากสินทรัพย์มีความผันผวนตามรอบเวลา ให้พิจารณาตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit ไม่ไกลจากกรอบราคาของสินทรัพย์ หากคุณมีแผนจะเปิดคำสั่งซื้อขายทิ้งไว้เป็นเวลาเกินหนึ่งสัปดาห์ ให้ย้อนดูกรอบราคาในช่วงเดือนที่ผ่านมา คาดการณ์โดยยึดหลักความเป็นจริง และเข้มงวดเกี่ยวกับขีดจำกัดการขาดทุน ยอมขาดทุนเล็กน้อยแล้ว และเก็บเงินทุนเอาไว้สำหรับการเทรดครั้งหน้าย่อมดีกว่า
ประการสุดท้าย การกลับตัวที่รุนแรงที่สุดมักเกิดขึ้นโดยไม่มีการบ่งบอกหรือการเตือนจากกราฟ หากคุณพลาดความเคลื่อนไหวของพฤติกรรมราคา อย่าโกรธตัวเอง และอย่าให้การขาดทุนมีอิทธิพลต่อการเทรดครั้งหน้าของคุณ คว้าทุกโอกาสในการเทรดครั้งใหม่ทุกวันด้วยใจที่คิดวิเคราะห์อย่างค่อยเป็นค่อยไป และ ดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะอย่างไม่มีอคติ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเทรดตามโมเมนตัม
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเทรด ตามโมเมนตัมมีดังนี้
คำถาม. การเทรดตามโมเมนตัมคืออะไร
การเทรด ตามโมเมนตัมเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อทำกำไรจากความต่อเนื่องของแนวโน้มราคาที่มีอยู่ในสินทรัพย์ต่างๆ โดยเป็นการดูว่าสินทรัพย์มีความเคลื่อนไหวขาขึ้นหรือขาลง และคว้าโอกาสในการทำกำไรจากโมเมนตัมของสินทรัพย์เหล่านั้น
คำถาม. เทรดเดอร์ระบุแนวโน้ม และ โมเมนตัมของราคาอย่างไร
เทรดเดอร์ระบุแนวโน้ม และ โมเมนตัมของราคาโดยการวิเคราะห์กราฟราคา และดูรูปแบบของความเคลื่อนไหวว่าเป็นขาขึ้นคงที่หรือขาลงคงที่ เทรดเดอร์อาจใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิค และอินดิเคเตอร์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบแนวโน้ม และวัดความแข็งแกร่งของโมเมนตัม
คำถาม. อินดิเคเตอร์มีบทบาทอย่างไรในการเทรด ตามโมเมนตัม
อินดิเคเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการเทรด ตามโมเมนตัม เนื่องจากช่วยเทรดเดอร์ยืนยันแนวโน้ม หาจุดเข้า และจุดออกที่เป็นไปได้ และประเมินความแข็งแกร่งของโมเมนตัมตลาด อินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Relative Strength Index (RSI), Moving Average Convergence Divergence (MACD) และ Stochastic Oscillator
คำถาม. สามารถประเมินภาคการตลาด และหุ้นสำหรับการเทรด ตามโมเมนตัมได้อย่างไร
เทรดเดอร์สามารถประเมินภาคการตลาด และหุ้นรายตัวสำหรับการเทรด ตามโมเมนตัมได้ด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มโดยภาพรวมภายในภาคส่วน และการเลือกหุ้นที่มีโมเมนตัมที่แข็งแกร่งภายในภาคส่วนเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหาสินทรัพย์ที่มีโมเมนตัมสูง และมีศักยภาพในการทำกำไร
คำถาม. เทรดเดอร์สามารถกำหนดจุดเข้า และ จุดออกในการเทรด ตามโมเมนตัมได้อย่างไร
เทรดเดอร์กำหนดจุดเข้า และ จุดออกด้วยอินดิเคเตอร์ และ รูปแบบของกราฟ เป้าหมายราคา และ คำสั่ง Trailing Stop Loss มักถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องกำไร และ จำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
คำถาม. การจัดการความเสี่ยงในการเทรด ตามโมเมนตัมมีความสำคัญอย่างไร
การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญในการเทรด ตามโมเมนตัม เนื่องจากช่วยเทรดเดอร์ปกป้องเงินทุน และลดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น เทรดเดอร์ควรใช้การกำหนดขนาดสถานะที่เหมาะสม ตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss และมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการยอมรับความเสี่ยงเพื่อจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถาม. มีตัวอย่างการเทรด ตามโมเมนตัมหรือไม่
ตัวอย่างในทางปฏิบัติของการเทรด ตามโมเมนตัม ได้แก่ การระบุหุ้นที่เคยประสบกับการ Breakout หรือ Breakdown ที่สำคัญ การใช้อินดิเคเตอร์เพื่อยืนยันโมเมนตัม และการเข้าเทรดตามแนวโน้ม นอกจากนั้น เทรดเดอร์อาจมองหาหุ้นที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งในภาคส่วนที่เลือก และทำกำไรจากโมเมนตัมของหุ้นดังกล่าว
คำถาม. การเทรด ตามโมเมนตัมเหมาะกับเทรดเดอร์ทุกคนหรือไม่
การเทรด ตามโมเมนตัมจำเป็นต้องมีการเฝ้าติดตามอย่างจริงจัง มีทักษะในการวิเคราะห์ทางเทคนิค และมีความเต็มใจยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับเทรดเดอร์ทุกราย โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่มีวิธีการลงทุนแบบดั้งเดิมหรือการลงทุนระยะยาว เทรดเดอร์ควรประเมินความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง และรูปแบบการเทรดของตนก่อนที่จะเทรดตามโมเมนตัม
คำถาม. การเทรด ตามโมเมนตัมมีข้อควรระวังหรือไม่
การเทรด ตามโมเมนตัมมีข้อควรระวังไม่ต่างจากกลยุทธ์การซื้อขายอื่นๆ ข้อควรระวังที่สำคัญคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดสัญญาณผิดพลาดหรือการกลับตัวกะทันหัน ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดทุนหากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม นอกจากนั้น ความผันผวนสูง และความเคลื่อนไหวของราคาอย่างรวดเร็วอาจเพิ่มระดับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการเทรด ตามโมเมนตัม
คำถาม. สามารถใช้การเทรด ตามโมเมนตัมร่วมกับกลยุทธ์อื่นได้หรือไม่
คุณสามารถใช้การเทรด ตามโมเมนตัมร่วมกับกลยุทธ์ และวิธีการอื่นได้ เทรดเดอร์บางรายใช้หลากหลายกลยุทธ์ โดยผสมผสานการเทรด ตามโมเมนตัมกับการติดตามแนวโน้ม การเทรดแบบ Mean Reversion หรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สิ่งสำคัญคือการพัฒนาแผนการเทรดที่สอดคล้องกับรูปแบบ และ วัตถุประสงค์ในการเทรดของตัวเราเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :