ทำความรู้จัก “ธนาคารกลาง” ผู้กำหนดทิศทางการเงินภายในประเทศ
Table of Contents
การเงินเป็นเรื่องของทุกคน แต่ผู้ที่กำหนดทิศทางการเงินภายในประเทศ คือ “ธนาคาร กลาง” ซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินที่มีบทบาทสำคัญต่อการเงิน และ เศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้ง แนวทางของธนาคาร กลางบางแห่งยังอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งโลก ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับธนาคาร กลาง ผู้กุมบังเหียนการเงินของประเทศกันครับ
ทำความรู้จัก “ธนาคารกลาง” คืออะไร?
ธนาคาร กลาง (Central Bank) คือ สถาบันทางการเงินที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมปริมาณเงินภายในระบบ ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศ หรือ กลุ่มประเทศสามารถดำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพ จุดเด่นของธนาคาร กลาง คือ การเป็นอิสระทางการเมือง และ มีสถานะผูกขาดทางกฎหมาย ทำให้ธนาคาร กลางสามารถจัดการตีพิมพ์ธนบัตร ตลอดจนเป็นนายธนาคาร และ นายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้
ธนาคาร กลางของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจ และ การเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยนั่นเองครับ
ทำไมต้องมีธนาคารกลาง?
จุดประสงค์หลักในการก่อตั้งธนาคาร กลาง คือ “การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน” เพราะค่าเงินของแต่ละประเทศมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และ รุนแรงก็จะกระทบต่อการเงิน และ เศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้ภาคประชาชน และ ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากความผันผวนดังกล่าวจนอาจเกิดวิกฤตทางการเงินต่อไปได้
ในทางกลับกัน หากปล่อยให้มีการตรึงค่าเงินให้อยู่ในอัตราคงที่ดังเช่นประเทศไทยในอดีตก็จะเป็นการฝืนกลไกตลาด และ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศนั้น ๆ อย่างรุนแรงได้ ดังนั้น ธนาคารจึงถือกำเนิดมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน และ ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้เป็นไปอย่างสมดุลนั่นเอง
ธนาคารกลางแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์อย่างไร?
“ธนาคารกลาง” กับ “ธนาคารพาณิชย์” มีความแตกต่างกัน คือ
ความแตกต่าง | ธนาคารกลาง | ธนาคารพาณิชย์ |
ความเป็นเจ้าของ | เป็นของสาธารณะ | เป็นของรัฐ หรือ เอกชน |
สถานะ | สถาบันชั้นนำในตลาดเงิน | หน่วยหนึ่งของโครงสร้างที่ดำเนินงานภายใต้การควบคุมของธนาคารกลาง |
บทบาทหน้าที่ | รักษาเสถียรภาพทางการเงิน และ เศรษฐกิจภายในประเทศ | แสวงหาผลกำไรเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนอื่น ๆ |
จำนวนธนาคาร | มีแห่งเดียวภายในประเทศ | มีหลายแห่ง |
กลุ่มลูกค้า | ธนาคารพาณิชย์ และ รัฐบาลเท่านั้น | ประชาชนทั่วไป และ นิติบุคคล |
แหล่งที่มาของปริมาณเงิน | ธนาคารกลางเป็นแหล่งเงินในระบบเศรษฐกิจ | ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการโดยใช้เงินฝากที่ได้รับจากบุคคล หรือ นิติบุคคล |
ธนาคาร กลาง มีหน้าที่อะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ธนาคาร กลางมีหน้าที่หลัก ๆ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การกำหนด และ ดำเนินนโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน (Monetary Policy) เป็นเครื่องมือที่ธนาคาร กลางใช้ควบคุมปริมาณเงินโดยรวมที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินสูงสุด ไม่แข็งค่า หรือ อ่อนค่ามากจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ได้ โดยนโยบายทางการเงินของธนาคาร กลางจะมี 2 แนวทาง คือ นโยบายแบบเข้มงวด และ นโยบายแบบผ่อนคลาย
2. การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน
การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน นับเป็นหน้าที่ที่ไม่อาจมองข้าม เพราะสมดุลของค่าเงินจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ ความเป็นอยู่ของคนภายในประเทศต่อไป ดังนั้น ธนาคาร กลางจึงต้องดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อรักษาสมดุลดังกล่าว เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
3. การกำกับระบบสถาบันการเงิน
นอกจากการดูแลเสถียรภาพทางการเงินแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่มีความสำคัญของธนาคาร กลาง คือ การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ และ สถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ตอบสนองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และ เศรษฐกิจโดยรวม
อย่างไรก็ดี ธนาคาร กลางยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีก เช่น การออกธนบัตร การให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์ การจัดตั้ง หรือ สนับสนุนระบบการชำระเงิน การบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ การควบคุมกฎหมายว่าด้วยการแลกเปลี่ยน ตลอดจนการให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
10 อันดับธนาคาร กลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หากอ้างอิงข้อมูลจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund Institute: SWFI) ธนาคาร กลางที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรียงตามทรัพย์สินสุทธิมีดังนี้
ธนาคาร กลาง | ประเทศ | ทรัพย์สินสุทธิ |
Federal Reserve System | สหรัฐฯ | 7.86 ล้านล้านดอลลาร์ |
Bank of Japan | ญี่ปุ่น | 5.15 ล้านล้านดอลลาร์ |
People’s Bank of China | จีน | 5.14 ล้านล้านดอลลาร์ |
Deutsche Bundesbank | เยอรมนี | 2.68 ล้านล้านดอลลาร์ |
Bank of France | ฝรั่งเศส | 2.30 ล้านล้านดอลลาร์ |
Bank of Italy | อิตาลี | 1.55 ล้านล้านดอลลาร์ |
Bank of Spain | สเปน | 1.32 ล้านล้านดอลลาร์ |
Bank of England | อังกฤษ | 1.29 ล้านล้านดอลลาร์ |
Swiss National Bank | สวิตเซอร์แลนด์ | 1.03 ล้านล้านดอลลาร์ |
Reserve Bank of India | อินเดีย | 8.18 แสนล้านดอลลาร์ |
อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2567
โดยสรุปแล้ว ธนาคาร กลางถือเป็นหน่วยงานที่ดูแลเสถียรภาพค่าเงิน และ เศรษฐกิจภายในประเทศ หรือ กลุ่มประเทศให้อยู่ในระดับสมดุล เพื่อป้องกันวิกฤตทางการเงิน หรือ ผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากค่าเงินที่ผันผวนมากจนเกินไป
แต่อย่างไรก็ดี แนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงินของแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันตามปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินอย่างฉับพลันย่อมส่งผลต่อตลาดเงิน และ ตลาดทุนไม่มากก็น้อย ดังนั้น อย่าลืมติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร กลางใหญ่ ๆ และ ธนาคาร กลางภายในประเทศประกอบการลงทุนกันด้วยนะครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :